Kinandleisure
    Facebook Twitter Instagram
    Trending
    • [News] ต้อนรับเทศกาลไหว้พระจันทร์ด้วยขนมไหว้พระจันทร์สูตรต้นตำรับและกล่องขนมไหว้พระจันทร์ลิมิเต็ดเอดิชันจาก The Peninsula bangkok
    • [Review] Silver Waves by Boon, Chatrium Hotel Riverside Bangkok ห้องอาหารจีนวิวเจ้าพระยา โดยเชฟมิชลินจากสแกนดิเนเวีย เปิดใหม่หรูหราบนชั้น 36
    • [Review] ลิ้มลองโอมากาเสะแบบอิตาเลียน 7 คอร์ส รสเลิศวัตถุดิบเยี่ยมสวยทุกจานใจกลางเมือง ที่ Enoteca Bangkok
    • [News] โรงแรมสินธร เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ ฉลอง 15 ปี แห่งความสำเร็จของ Lady in Red และ Gentleman in Red, Sindhorn Kempinski Bangkok
    • [News] รื่นรมย์กับมนต์เสน่ห์แห่งฤดูร้อน ณ โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ The Okura Prestige Bangkok กับ “Sense of Lavender Afternoon Tea” 2025
    • [News] โซเนวา ชวนสัมผัสประสบการณ์ดูแลสุขภาพกับเทศกาล SOUL Festival ครั้งที่ 3 เวิร์กช้อปเพื่อดูแลสุขภาพอย่างล้ำลึกระยะเวลา 5 วัน ที่มัลดีฟส์ นำโดยผู้เชี่ยวชาญจาก Sanctum, Ground Wellbeing และอีกมากมาย
    • [News] คีรี ไพรเวท รีเซิร์ฟมอบแพ็กเกจพิเศษสำหรับคนไทยเพื่อเป็นการส่งท้ายสัมผัสความเงียบสงบของเกาะกูด กับรีสอร์ตในฝันของทุกคน
    • [Review] ดื่มด่ำกับโลกไซไฟยามค่ำคืน กับอาหารเมดิเตอร์เรเนียนสายรักษ์โลก กับมนต์เสน่ห์แห่งแกะไฟฟ้า @ Electric Sheep ,Bangkok
    Facebook Twitter Instagram
    Kinandleisure
    • Kin Reviews
      • Top Restaurant
      • French Cuisine
      • European Cuisine
      • German Cuisine
      • Italian Cuisine
      • Japanese Cuisine
      • Thai Cuisine
      • International Cuisine
      • Spanish Cuisine
      • tea lounge/Café & bakery
      • Chinese Cuisine
      • American Cuisine
      • Bar Drinks
      • Steak House
      • Vietnamese Cuisine
      • Korean Cuisine
      • Indian Cuisine
      • latin American
      • Steak House
    • K healthy
      • Kin Healthy
      • Healthy Living
    • Kin Articles
      • Kin General
      • Kin Cooking
      • Kin Seasonal
    • Kin Channel
    • Promo & Event
      • Kin Promo
      • Kin News
      • LifeStyle Promo & Event
    • K Travel&LifeStyle
      • Trip Review
      • Hotel Review
      • Spa & beauty
      • K Fashion
      • K Fit
      • Our Team เบื้องหลัง โฉมหน้าผู้สร้างเนื้อหา กิน ดื่ม เที่ยว โดยทีมงานคุณภาพ
    • K Living & Design
    Kinandleisure
    Home»Kin Articles»Kin General»“หญ้าฝรั่น” หรือ Saffron สุดยอดเครื่องเทศแพงที่สุดในโลก ทำไมถึงแพง ประโยชน์เยอะแค่ไหน ไปดูกัน
    Kin General

    “หญ้าฝรั่น” หรือ Saffron สุดยอดเครื่องเทศแพงที่สุดในโลก ทำไมถึงแพง ประโยชน์เยอะแค่ไหน ไปดูกัน

    Kittin AssavavichaiBy Kittin AssavavichaiMay 10, 2020Updated:May 10, 2021No Comments3 Mins Read

    “แซฟฟรอน” / Saffron หรือชื่อในภาษาไทยว่า “หญ้าฝรั่น”  (ออกเสียงว่า ฝะ-หรั่น) ชื่อสามัญ Saffron, True saffron, Spanish saffron, Crocus นั้น เป็นเครื่องเทศที่ได้มาจากเกสรตัวเมียของดอกแซฟฟรอน โครคัส (saffron crocus) ซึ่งเป็นพืชประเภทหัว มีกลีบดอกสีม่วง พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก เช่น สเปน กรีซ อินเดีย อิหร่าน จอร์เจียร์ ฯลฯ แต่ประเทศที่ผลิตแซฟฟรอนได้มากที่สุดในโลกก็คือ อิหร่าน

    หลายคนอาจจะตกใจถ้าทราบว่าแซฟฟรอนมีราคาซื้อขายโดยเฉลี่ยขายปลีกกันประมาณกิโลกรัมละ 77,700 บาท ขนาดนี้ก็นับว่าแพงมากแล้ว แต่ในบางยุคแซฟฟรอนยังมีราคาสูงกว่าทองคำเสียอีก เหตุที่เป็นเครื่องเทศราคาแพงขนาดนี้ก็เนื่องจากดอกแซฟฟรอน โครคัสแต่ละดอกจะให้เกสรเพียง 3 เส้นเท่านั้น ดังนั้นการที่จะเก็บแซฟฟรอนแห้งให้ได้น้ำหนักเพียง 1 ปอนด์ (0.45 ก.ก.) ก็จะต้องใช้ดอกแซฟฟรอน โครคัส มากถึง 50,000-75,000 ดอก นอกจากนั้นการเก็บเกสรต้องรีบเก็บในวันเดียวก่อนที่ดอกจะโรย และต้องรีบนำมาคั่วให้แห้งทันที และยังต้องใช้แรงงานคนเท่านั้น ใช้เครื่องจักรแทนไม่ได้อีกด้วย

    เราใช้แซฟฟรอนมาใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร โดยเฉพาะในแถบยุโรป และแถบประเทศอาหรับ รวมถึงประเทศในแถบเอเชียกลาง เช่นตุรกี อินเดีย เป็นต้น แซฟฟรอนเป็นเครื่องเทศที่ให้กลิ่นหอมและกลิ่นติดนาน แม้จะใช้เพียงนิดเดียวเท่านั้น และนิยมใช้ในอาหารที่ทำในโอกาสพิเศษเพื่อการเฉลิมฉลอง ใช้ได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน และในตำรายาไทยก็ยังนำหญ้าฝรั่นมาใช้เป็นตัวยาที่ช่วยในการแก้ลมวิงเวียนใช้ในยาหอมต่างๆ และยังเป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ อีกทั้งยังทำให้ผิวเปล่งปลั่ง และอายุยืนอีกด้วย

    หญ้าฝรั่น ชื่อวิทยาศาสตร์ Crocus sativus L. จัดอยู่ในวงศ์ว่านแม่ยับ (IRIDACEAE) และยังไม่มีชื่อท้องถิ่นหรือชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ เนื่องจากเป็นพืชสมุนไพรของต่างประเทศ โดยประเทศที่ปลูกหญ้าฝรั่นเพื่อส่งออกได้แก่ ประเทศสเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส อินเดีย และอิหร่าน[1],[3],[4],[8] โดยอิหร่านเป็นประเทศที่สามารถผลิตหญ้าฝรั่นที่มีคุณภาพและมีปริมาณการผลิตมากที่สุดในโลก โดยคิดเป็นร้อยละ 81 ของหญ้าฝรั่นทั่วโลก

    Saffron คืออะไร ? Saffron หรือหญ้าฝรั่นคือเครื่องเทศสมุนไพรจากต่างประเทศที่มีราคาแพงมากที่สุดในโลก เป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้มาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันโบราณ โดยแหล่งผลิตหญ้าฝรั่นที่มีคุณภาพสูงคือประเทศอิหร่าน

    ลักษณะของหญ้าฝรั่น

    • ต้นหญ้าฝรั่น จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม มีอายุหลายปี ในประเทศไทยยังไม่มีการเพาะปลูกหญ้าฝรั่น

    สรรพคุณของหญ้าฝรั่น

    1. ใช้เป็นยาบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็ง และต่อต้านสารก่อกลายพันธุ์
    2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
    3. ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด
    4. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
    5. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
    6. การรับประทานหญ้าฝรั่นทุกวันจะช่วยถนอมสายตาไม่ให้มืดมนเมื่ออายุมาก ถนอมเซลล์อันซับซ้อนในดวงตาให้สามารถใช้งานนานและทนทานกับโรคได้ดี ป้องกันเซลล์ไม่ให้ตายเพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่เข้มแข็งอยู่ ช่วยป้องกันดวงตาจากแสงแดด และช่วยขัดขวางไม่ให้เป็นโรคจอตาเสื่อม มีสารสีขึ้นหรือโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ (ศาสตราจารย์ซิลเวีย พิสติ มหาวิทยาลัยอกิลาในอิตาลี) นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียดที่จอตานอกเหนือจากจุดรับภาพเสื่อม และช่วยป้องกันโรคตาบอดกลางคืนได้
    7. ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
    8. ในประเทศเยอรมนีมีการใช้หญ้าฝรั่นเพื่อเป็นยาคลายกล้ามเนื้อประสาท ช่วยผ่อนคลายความเครียดของระบบประสาท
    9. ยอดเกสรและกลีบดอกหญ้าฝรั่นช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าได้ (หญ้าฝรั่น, กลีบดอก)
    10. ใช้เป็นยาชูกำลัง
    11. ช่วยบำรุงหัวใจ (ต้น)
    12. ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
    13. ช่วยเพิ่มระดับออกซิเจนในพลาสม่า
    14. ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด (ในเยอรมัน)
    15. ช่วยแก้อาการสวิงสวายหรืออาการรู้สึกใจหวิว มีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่ามัว คล้ายจะเป็นลม[5]
    16. ช่วยแก้ซางในเด็ก
    17. ใช้เป็นยาขับเหงื่อ
    18. ดอกและรากหญ้าฝรั่นช่วยแก้ไข้ (ดอก, ราก)
    19. ช่วยขับเสมหะ
    20. ในประเทศเยอรมนีมีการใช้หญ้าฝรั่นเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง อาการปวดในกระเพาะอาหาร[7]
    21. ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
    22. ช่วยแก้อาการบิด (ราก)
    23. ช่วยแก้อาการปวดท้องหลังการคลอดบุตรของสตรี
    24. ช่วยขับระดูของสตรี
    25. ช่วยแก้อาการเกร็ง เส้นกระตุก ลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก
    26. ช่วยระงับความเจ็บปวด
    27. มีการใช้สารสกัดที่ได้จากหญ้าฝรั่นที่มีตัวยาที่ชื่อว่า Swedish bitters เพื่อใช้ในการเตรียมยาบำบัดเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ
    28. งานการศึกษาอื่น ๆ ระบุว่าหญ้าฝรั่นอาจมีศักยภาพในคุณสมบัติทางด้านการแพทย์อีกหลายอย่าง

    ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าฝรั่น

    สารเคมีที่พบในหญ้าฝรั่นได้แก่ Crocin 2%, Destrose, Picrocrocin 2%, Riboflavin และน้ำมันหอมระเหย[4]

    ประโยชน์ของหญ้าฝรั่น

    1. เชื่อว่าหญ้าฝรั่นมีสรรพคุณช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งและมีอายุยืนยาว[5]
    2. หญ้าฝรั่นมีรสขมอมหวานและมีกลิ่นหอมแบบโบราณ นำมาใช้ทำเป็นยาหอมได้[5]
    3. หญ้าฝรั่นนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหาร ใช้แต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยจะช่วยทำให้อาหารมีสีเหลืองส้มสว่าง อย่างเช่น ลูกกวาด ขนมหวาน เค้ก พุดดิง คัสตาร์ด รวมไปถึงเหล้าและเครื่องดื่ม[1],[4],[8]
    4. หญ้าฝรั่นเป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอมและกลิ่นติดทนนาน เมื่อนำมาใช้ทำอาหารจึงไม่ต้องใช้มาก และนิยมนำมาใส่ในขั้นตอนสุดท้ายของการปรุงอาหาร เนื่องจากเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงมากจึงมักนิยมใส่ในอาหารในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เพื่อเฉลิมฉลอง[5]
    5. นอกจากนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหารแล้ว ยังใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและน้ำหอมหรือน้ำอบได้อีกด้วย[4],[8]
    6. ใช้ในการย้อมสีผ้า โดยให้สีเหลือง[5]
    7. ในตำรายาสมุนไพร Farmakuya ซึ่งเป็นตำรับยาสมุนไพรโบราณระบุว่า หญ้าฝรั่นมีสรรพคุณนำมาใช้ทำเป็นทิงเจอร์ที่มีชื่อว่า Tinctura Opiicrocata[7]
    8. นิยมใช้กับข้าวปรุงรสต้นตำรับหรืออาหารจากต่างประเทศ เช่น ข้าวบุหรี่, ข้าวหมาก ข้าวปิลาฟ (Pilaf Rice), ข้าว Pilaus ของอินเดีย, ข้าวปาเอญ่า (Paella) ของสเปน, ข้าว Risotto Milanese ของอิตาเลียน, ซุปทะเลรวมมิตรแบบฝรั่งเศส หรือบุยยาเบส (Bouillabaisse) ด้วยการใช้หญ้าฝรั่นนำมาชงด้วยน้ำร้อนแล้วกรองเอาแต่น้ำ หรือนำมาบดให้ละเอียดและผสมลงในอาหารหรือใส่ทั้งเส้น[2],[5]

    คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าฝรั่น ต่อ 100 กรัม

    • พลังงาน 310 กิโลแคลอรี
    • คาร์โบไฮเดรต 65.37 กรัม
    • เส้นใย 3.9 กรัม
    • ไขมัน 5.85 กรัมลักษณะของหญ้าฝรั่น
    • ไขมันอิ่มตัว 1.586 กรัม
    • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0.429 กรัม
    • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 2.067 กรัม
    • โปรตีน 11.43 กรัม
    • น้ำ 11.9 กรัม
    • วิตามินเอ 530 หน่วยสากล
    • วิตามินบี 1 0.115 มิลลิกรัม 10%
    • วิตามินบี 2 0.267 มิลลิกรัม 22%
    • วิตามินบี 3 1.46 มิลลิกรัม 10%
    • วิตามินบี 6 1.01 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 9 93 ไมโครกรัม
    • วิตามินซี 80.8 มิลลิกรัม 97%
    • ธาตุแคลเซียม 111 มิลลิกรัม 11%
    • ธาตุเหล็ก 11.1 มิลลิกรัม 85%
    • ธาตุแมกนีเซียม 264 มิลลิกรัม 74%
    • ธาตุฟอสฟอรัส 252 มิลลิกรัม 36%
    • ธาตุโพแทสเซียม 1,724 มิลลิกรัม 37%
    • ธาตุโซเดียม 148 มิลลิกรัม 10%
    • ธาตุสังกะสี 1.09 มิลลิกรัม 11%
    • ธาตุซีลีเนียม 5.6 ไมโครกรัม

    % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

    ข้อควรรู้เกี่ยวกับหญ้าฝรั่น

    • สภาพอากาศและสภาพภูมิประเทศเป็นปัจจัยสำคัญและมีผลต่อคุณภาพและปริมาณการผลิตของหญ้าฝรั่น ดังนั้นผลผลิตที่ปลูกคนละพื้นที่ จึงมีผลโดยตรงในเรื่องของคุณสมบัติและสรรพคุณของหญ้าฝรั่นที่ต่างกัน ซึ่งจากผลการวิจัยและค้นคว้าพบว่าหญ้าฝรั่นที่ปลูกในประเทศอิหร่าน มีสารพิษที่เจือปนในปริมาณที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับหญ้าฝรั่นจากประเทศอื่น ๆ จากข้อได้เปรียบดังกล่าวจึงสามารถใช้ต่อรองราคากับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ได้ และยังเป็นเกณฑ์แบ่งระดับคุณภาพ รวมถึงมาตรฐานระหว่างหญ้าฝรั่นที่ผลิตในประเทศอื่นอีกด้วย
    • หญ้าฝรั่นปลอมก็มีเหมือนกัน เนื่องจากเป็นพืชที่มีราคาสูงมาก จึงมีผู้ฉวยโอกาสผลิตสินค้าลอกเลียนแบบขึ้นมา ด้วยการนำดอก Rose–Coloured ที่มีทั้งลักษณะและคุณสมบัติคล้ายกับหญ้าฝรั่น มาผสมปนกับหญ้าฝรั่นบดหรือผง ซึ่งเมื่อนำมาละลายน้ำดู น้ำก็จะเกิดเป็นสีเหลืองเช่นเดียวกับหญ้าฝรั่น โดยวิธีการตรวจสอบ
      • วิธีแรก ก็คือ ให้นำหญ้าฝรั่นผงประมาณ 2-3 มิลลิกรัม มาผสมกับกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 2-3 หยดในหลอดทดลอง แล้วทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง หากเป็นหญ้าฝรั่นของแท้ก็จะเปลี่ยนจากสีแดงเข้มหรือสีแดงน้ำตาลเป็นสีแดงม่วง
      • วิธีที่สอง ให้นำหญ้าฝรั่นผงประมาณ 2-3 มิลลิกรัม นำมาบดกับกรดซัลฟิวริก 1 หยดบนกระจกแก้วแล้วนำไปส่องดูด้วยกล้องไมโครสโคป ที่มีกำลังขยาย 100 ก็จะเห็นผล หากเป็นหญ้าฝรั่นของแท้ก็จะเปลี่ยนสีฟ้า และเกิดรัศมีทรงกลดสีฟ้าอยู่รอบ ๆ
    • การเก็บรักษาหญ้าฝรั่น เนื่องจากสี กลิ่น และรสชาติของหญ้าฝรั่นมีคุณสมบัติที่ระเหยได้ง่าย โดยเฉพาะหญ้าฝรั่นที่เป็นผงหรือเป็นฝอย ดังนั้นจึงควรเก็บให้พ้นแสงแดดและในที่ที่ปราศจากความชื้น โดยเก็บไว้ในขวดโหลแก้วที่มีฝาปิดได้อย่างมิดชิด หรือจะเป็นขวดโลหะก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของรสชาติและสรรพคุณของหญ้าฝรั่นนั่นเอง และที่สำคัญอย่างมากก็คือไม่ควรนำหญ้าฝรั่นมาบดเป็นผงถ้าหากยังไม่ได้ใช้งาน
    • ผลข้างเคียงของหญ้าฝรั่น การรับประทานหญ้าฝรั่นในปริมาณมากเกินไปอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียน มีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนตัว ตัวสั่น ผิวเหลือง มีเลือดกำเดาไหล มีเลือดออกบริเวณเปลือกตาและริมฝีปาก ถ่ายเป็นเลือด เลือดออกภายในมดลูก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากพบอาการในเบื้องต้นต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน ทั้งนี้จากการค้นคว้าและวิจัยพบว่า ปริมาณการบริโภคหญ้าฝรั่นคือไม่ควรเกิน 1.5 กรัมต่อวัน
    เอกสารอ้างอิง
    1. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.  [20 ต.ค. 2013].
    2. โรงเรียนอุดมศึกษา.  “เมนูอาหารพรรณไม้“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.udomsuksa.ac.th.  [20 ต.ค. 2013].
    3. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th.  [20 ต.ค. 2013].
    4. เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.  อ้างอิงใน: หนังสือสมุนไพรไทยเทศ เล่ม 1 (อรุณพร อิฐรัตน์), หนังสือสมุนไพรสารพัดประโยชน์ (วันดี กฤษณพันธ์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: drug.pharmacy.psu.ac.th.  [20 ต.ค. 2013].
    5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 2.  อ้างอิงใน: หนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.nan2.go.th.  [20 ต.ค. 2013].
    6. วิชาการดอตคอม.  “วิจัยเผยหญ้าฝรั่นกันตาบอด“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.vcharkarn.com.  [20 ต.ค. 2013].
    7. บ้านจอมยุทธ.  “หญ้าฝรั่น (Safron)“.  อ้างอิงใน: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน มิถุนายน 2548.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.baanjomyut.com.  [20 ต.ค. 2013].
    8. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org/wiki/หญ้าฝรั่น.  [19 ต.ค. 2013].

    Share this:

    • Click to share on Facebook (Opens in new window) Facebook
    • Click to share on X (Opens in new window) X
    • Click to share on Threads (Opens in new window) Threads
    Previous Articleท่องเที่ยวลัดเลาะตามชายฝั่งเมดิเตอเรเนียนไปกับหลากวัฒนธรรมผ่านอาหาร ณ ALATi, Siam Kempinski Bangkok
    Next Article อาหารจีนแสนอร่อยใจกลางกรุง พร้อมชมทัศนียภาพเมืองกรุงย่านสีลม ราชดำริ กับ Xin Tian Di โรงแรม Crowne Plaza Bangkok

    Related Posts

    Kin Review : Peruvian Flavors: มนต์เสน่ห์แห่งแดนละติน ท่องเที่ยวเปรูผ่านจาน สัมผัสวัฒนธรรมและรสชาติอันน่าตราตรึงใจ จาก 7 เชฟชาวเปรู

    December 10, 2024

    [Seasonal] กินเจ: จากประเพณีโบราณสู่เทรนด์ระดับโลก สุขภาพดี ใจเบาสบาย และรักษ์โลก! Vegetarian Festival

    October 3, 2024

    [General] เรียนรู้เกี่ยวกับไวน์ออสเตรเลีย Australian Wine

    November 2, 2022

    Comments are closed.

    • Recent Posts
    • POPULAR

    [News] ต้อนรับเทศกาลไหว้พระจันทร์ด้วยขนมไหว้พระจันทร์สูตรต้นตำรับและกล่องขนมไหว้พระจันทร์ลิมิเต็ดเอดิชันจาก The Peninsula bangkok

    July 11, 2025

    [Review] Silver Waves by Boon, Chatrium Hotel Riverside Bangkok ห้องอาหารจีนวิวเจ้าพระยา โดยเชฟมิชลินจากสแกนดิเนเวีย เปิดใหม่หรูหราบนชั้น 36

    July 10, 2025

    [Review] ลิ้มลองโอมากาเสะแบบอิตาเลียน 7 คอร์ส รสเลิศวัตถุดิบเยี่ยมสวยทุกจานใจกลางเมือง ที่ Enoteca Bangkok

    July 2, 2025

    [News] โรงแรมสินธร เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ ฉลอง 15 ปี แห่งความสำเร็จของ Lady in Red และ Gentleman in Red, Sindhorn Kempinski Bangkok

    June 29, 2025

    [News] รื่นรมย์กับมนต์เสน่ห์แห่งฤดูร้อน ณ โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ The Okura Prestige Bangkok กับ “Sense of Lavender Afternoon Tea” 2025

    June 29, 2025

    [News] ต้อนรับเทศกาลไหว้พระจันทร์ด้วยขนมไหว้พระจันทร์สูตรต้นตำรับและกล่องขนมไหว้พระจันทร์ลิมิเต็ดเอดิชันจาก The Peninsula bangkok

    July 11, 2025

    [Review] Silver Waves by Boon, Chatrium Hotel Riverside Bangkok ห้องอาหารจีนวิวเจ้าพระยา โดยเชฟมิชลินจากสแกนดิเนเวีย เปิดใหม่หรูหราบนชั้น 36

    July 10, 2025

    [Review] ลิ้มลองโอมากาเสะแบบอิตาเลียน 7 คอร์ส รสเลิศวัตถุดิบเยี่ยมสวยทุกจานใจกลางเมือง ที่ Enoteca Bangkok

    July 2, 2025

    [News] โรงแรมสินธร เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ ฉลอง 15 ปี แห่งความสำเร็จของ Lady in Red และ Gentleman in Red, Sindhorn Kempinski Bangkok

    June 29, 2025

    [News] รื่นรมย์กับมนต์เสน่ห์แห่งฤดูร้อน ณ โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ The Okura Prestige Bangkok กับ “Sense of Lavender Afternoon Tea” 2025

    June 29, 2025
    POPULAR

    “ฟัวกราส์” ถูกแบนแล้วในแดนแซมบ้า ห้ามซื้อห้ามขายห้ามกิน

    June 29, 2015

    เมล็ดมันแกวแก่ กินไม่ดีถึงตายไปหลายรายแล้ว!!!!

    June 30, 2015

    ภาชนะที่ทำจากโฟมใส่ของกินของต้องห้ามในนิวยอร์กตั้งแต่วันนี้!

    July 2, 2015
    @KinlakeStars
    KINLAKESTARS.COM

    Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.